เปลี่ยนธุรกิจให้โตไว! ทำไมต้องใช้ Web Application

ในโลกยุคที่การทำธุรกิจแทบทุกอย่างได้ย้ายเข้ามาสู่ออนไลน์ หลาย ๆ คนอาจคุ้นเคยกับคำว่า Web Application ที่เป็นเทคโนโลยีที่ช่วยเป็นตัวกลางในการสื่อสาร และช่วยอำนวยความสะดวกระหว่างองค์กรและผู้ใช้งาน ให้รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ และยังช่วยประหยัดต้นทุนขององค์กรอีกด้วย 

แต่หลายคนก็อาจสงสัยว่า Web Application และ Website ต่างกันอย่างไร มีรูปแบบการทำงานยังไงบ้าง และทำไมการทำ Web Application ถึงดีต่อธุรกิจ ในบทความนี้เราจะพาทุกคนไปหาคำตอบกัน


Web Application คืออะไร?

Web Application คือแอปพลิเคชันประเภทหนึ่งที่ผู้ใช้งานสามารถเปิดผ่าน Web Browser ได้ทันที โดยไม่ต้องดาวน์โหลดแอปพลิเคชันเพื่อใช้งานแต่อย่างใด ซึ่งจะมีประโยชน์ในการทำให้ผู้ใช้สามารถเปิดใช้งานได้อย่างรวดเร็ว เพิ่มโอกาสการเข้าถึง และประหยัดพื้นที่และทรัพยากรในสมาร์ทโฟน เหมาะอย่างยิ่งต่อองค์กรหรือธุรกิจที่ต้องการเพิ่มการเข้าถึงที่สะดวกรวดเร็ว


Web Application ต่างจาก Website ทั่วไปยังไงบ้าง?

สำหรับ Web Application จะต่างจาก Website ตรงที่ Website นั้นผู้ใช้ไม่ว่าจะเป็นใครก็สามารถเข้าใช้งานไม่ว่าจะเป็นการดูรูปภาพ วีดีโอ หรืออ่านเนื้อหาต่าง ๆ บน Website ด้วยเนื้อหาที่คงที่ และเป็นการสื่อสารทางเดียว ในขณะที่ Web Application จะเป็นเว็บไซต์ที่ผู้ใช้จะต้องทำการล้อกอินหรือยืนยันตัวตนก่อนเข้าใช้งาน เนื่องจากนอกจากเข้าชมแล้วยังสามารถที่จะจัดการข้อมูลต่าง ๆ บน Web Application ได้ 

ไม่เพียงแค่นั้น Web Application ยังมีรูปแบบการพัฒนาที่มีความซับซ้อนมากกว่า Website โดย Web Application จะต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญในการออกแบบให้ผู้ใช้สามารถเข้ามาจัดการเนื้อหาต่าง ๆ ในเว็บไซต์ได้ ในขณะที่ Website จะมีความซับซ้อนน้อยกว่า และเน้นไปที่การสร้างความสวยงามต่อผู้เข้าใช้งาน


Web Application ทำงานอย่างไร?

สำหรับการทำงานของ Web Application จะสามารถแบ่งออกเป็นสองส่วนได้แก่ สคริปต์ส่วนผู้ใช้งานและสคริปต์ส่วนเซิร์ฟเวอร์ โดยจะทำหน้าที่ดังนี้

สคริปต์ด้านผู้ใช้งาน (Client-Side)

โดยจะเป็นสคริปต์ที่ทำหน้าที่ฟังก์ชันของผู้ใช้งาน Web Application เป็นหลัก ซึ่งจะทำหน้าที่เมื่อผู้ใช้ทำการคลิกลิงก์ต่าง ๆ บนหน้าเว็บ ก็จะทำการโหลดสคริปต์ที่เป็นชุดคำสั่ง เพื่อให้ผู้ใช้สามารถเข้าสู่หน้าเนื้อหา เพื่ออ่าน หรือรับชมเนื้อหาบนหน้าเว็บได้

ตัวอย่างการใช้งาน สคริปต์ด้านผู้ใช้งาน 

  • เมื่อคลิกปุ่มหรือลิงก์ หน้าเว็บจะเปลี่ยนไปหรือแสดงเนื้อหาเพิ่มเติม
  • การแสดงแอนิเมชันหรือเอฟเฟกต์ต่าง ๆ บนเว็บ
  • การตรวจสอบข้อมูลที่ผู้ใช้กรอก เช่น ฟอร์มสมัครสมาชิก

สคริปต์ด้านเซิร์ฟเวอร์ (Server-Side)

จะเป็นสคริปต์ที่ประกอบไปด้วยเว็บเซิร์ฟเวอร์ที่เชื่อมต่อเนื้อหากับสคริปต์ฝั่งผู้ใช้งาน ยกตัวอย่างเช่น กรณีที่ผู้ใช้กดคลิก ‘อ่านเพิ่มเติม’  เซิร์ฟเวอร์จะทำการส่งเนื้อหาดังกล่าวไปยังผู้ใช้งาน 

ตัวอย่างการใช้งาน สคริปต์ด้านเซิร์ฟเวอร์ 

  • เมื่อผู้ใช้กด “อ่านเพิ่มเติม” เว็บเซิร์ฟเวอร์จะค้นหาเนื้อหาจากฐานข้อมูลและส่งกลับไปแสดงผล
  • จัดการข้อมูลผู้ใช้ เช่น การเข้าสู่ระบบหรือสมัครสมาชิก
  • ประมวลผลคำขอ เช่น บันทึกข้อมูลหรืออัปเดตเนื้อหา

ประโยชน์ของ Web Application

การที่องค์กรหรือธุรกิจเลือกใช้ Web Application จะช่วยเพิ่มความสะดวก เพิ่มประสิทธิภาพต่าง ๆ โดยหลัก ๆ จะมีดังนี้

1.เพิ่มโอกาสเข้าถึง

การมี Web Application จะช่วยเพิ่มโอกาสให้ธุรกิจสามารถเข้าถึงผู้คนส่วนมากได้ โดยเฉพาะในยุคที่ผู้คนล้วนแต่มีสมาร์ทโฟน โน้ตบุ้ค แท็บเล็ต ที่สามารถเข้าถึงเว็บไซต์ของธุรกิจได้ง่ายขึ้น และตอบโจทย์ความต้องการของผู้คนที่ต้องการสื่อสารหรือเป็นส่วนหนึ่งของธุรกิจ ผ่านการเข้าถึงเนื้อหาต่าง ๆ ผ่านอุปกรณ์ของตัวเอง โดยที่ไม่จำเป็นต้องติดตั้งแอปพลิเคชันหรือฟังก์ชันเสริมอื่น ๆ แต่อย่างใด ทำให้คนที่ใช้อุปกรณ์ไม่ว่าจะ IOS หรือ Android ก็สามารถเข้าถึง Web Application ได้ 

2.พัฒนาและปรับปรุงง่าย โดย Web Development

Web Application ถือว่าเป็นแอปพลิเคชันที่ใช้พัฒนาง่าย และสะดวกกว่าที่คิด โดยผู้พัฒนาแอปพลิเคชันหรือ Web Development  ได้ออกแบบให้เว็บสามารถอัปเดตตัวเองได้อย่างอัตโนมัติ ทำให้ผู้ใช้ได้รับข้อมูลที่เป็นปัจจุบันและล่าสุดโดยที่แทบไม่ต้องเข้าไปแก้ไขใด ๆ นอกจากนี้การใช้งานยังเปิดผ่าน Web Browser ที่เหมือนกันทุกอุปกรณ์ ช่วยให้องค์กรไม่ต้องอัปเดตหรือทำซ้ำในหลาย ๆ แพลตฟอร์ม

ทำความเข้าใจบทบาทหน้าที่และความสำคัญของ Web Development
ได้ที่บทความ: Web Development ทำอะไร? เจาะลึกอาชีพที่ขาดไม่ได้ในยุคดิจิทัล

3.ช่วยประหยัดต้นทุน

อีกหนึ่งข้อดีของการที่ธุรกิจเลือกใช้ Web Application คือการช่วยประหยัดต้นทุน ประหยัดค่าใช้จ่ายได้ เช่น การลดต้นทุนด้านไอทีขององค์กร เนื่องจาก Web Application เป็นโปรแกรมสำเร็จที่ไม่ต้องใช้ฮาร์ดไดรฟ์หรือโปรแกรมอื่น ๆ ช่วยลดพื้นที่ นอกจากนี้การใช้ Web Application ยังช่วยลดต้นทุนด้านการตลาด เพราะยิ่งเว็บมีประสิทธิภาพ มีผู้ใช้บริการเยอะ จะยิ่งช่วยเพิ่มโอกาสให้ธุรกิจได้รับการเข้าถึงมากขึ้น โดยไม่ต้องลงทุนด้านการตลาดมากนัก

4.การจัดเก็บข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ

นอกจากการช่วยเรื่องการเข้าถึงและความสะดวกแล้ว Web Application ยังมีประโยชน์ในด้านการจัดเก็บข้อมูลต่าง ๆ ในเซิร์ฟเวอร์ เนื่องจากเป็นการจัดเก็บแบบออนไลน์ผ่านระบบคลาวน์ ทำให้เกิดความเสถียร และไม่ต้องใช้ฮาร์ดไดรฟ์ในการจับเก็บข้อมูล ช่วยให้องค์กรหมดกังวลเรื่องพื้นที่จะไม่พอ ทำให้ Web Application เหมาะอย่างยิ่งแก่องค์กรที่ทำงานแบบไฮบริดหรือ WFH (Work From Home) ที่พนักงานต้องใช้ฐานข้อมูลกลางร่วมกัน โดยทุกคนสามารถเข้าถึงและจัดการข้อมูลได้ ผ่านการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตเท่านั้น

สรุป 

โดยสรุป Web Application ถือว่าเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยสำหรับองค์กรหรือธุรกิจ ที่ต้องการขยับขยายตัวเองให้เข้าสู่ความเป็นออนไลน์ ด้วยต้นทุนที่ไม่สูงจนเกินไป มีการใช้งานง่าย ไม่ยุ่งยาก และมีฟังก์ชันที่เข้าถึงผ่าน Web Browser ที่รองรับอุปกรณ์ทั้ง IOS หรือ Android เรียกได้ว่าเป็นการลงทุนที่คุ้มค่า ทั้งการเพิ่มโอกาสเติบโต และการทำงานที่มีคุณภาพ

หากองค์กรไหนที่ต้องการมองหา บริการช่วยเหลือด้าน Web Application ขอแนะนำ AYODIA ผู้ช่วยด้านการออกแบบและพัฒนา Web Application ให้ออกมาตอบโจทย์ต่อธุรกิจของคุณ ด้วยทีมงานมืออาชีพที่มีเชี่ยวชาญ พร้อมบริการที่ดูแลตั้งแต่การทำความเข้าใจวัตถุประสงค์ขององค์กร ไปจนถึงการทดลอง ปรับปรุง และดูแลหลังการขาย ให้คุณได้ Web Application ที่มีประสิทธิภาพตรงใจมากที่สุด