รู้จักกับ Mobile App Development ผู้ช่วยพลิกโฉมธุรกิจในยุคดิจิทัล

ทุกวันนี้สมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ต เป็นสิ่งที่มนุษย์แทบจะขาดไม่ได้ เพราะนอกจากอำนวยความสะดวกแล้ว ยังเปลี่ยนรูปแบบการทำธุรกิจให้อยู่ในรูปแบบออนไลน์ ผ่าน Mobile Application ซึ่งเป็นหน้าที่ของ Mobile App Development ที่เป็นอาชีพสำหรับคนยุคใหม่ที่มีหน้าที่สร้างสรรค์ ออกแบบ และพัฒนาแอปพลิเคชันต่าง ๆ

แล้วหน้าที่ Mobile App Development มีหน้าที่อะไรบ้าง มีความสำคัญต่อองค์กรและธุรกิจยังไง ในบทความนี้จะพาทุกคนไปไขข้อสงสัย

รู้จักกับ Mobile App Development และบทบาทของ Mobile Application ในปัจจุบัน

Mobile App Developer คือผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับการออกแบบ พัฒนา ทดสอบและปรับปรุงแอปพลิเคชัน เพื่อใช้งานบนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ เช่น สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต หรือโน้ตบุ้ค ให้เกิดประสิทธิภาพที่ดี สร้างความพึงพอใจและอำนวยความสะดวกต่อผู้ใช้งาน 

โดยคุณสมบัติสำคัญที่ Mobile App Developer จะต้องมีก็ได้แก่ ทักษะการเขียนโปรแกรม, ทักษะการออกแบบ UX/UI , การคิด วิเคราะห์ และแก้ไขปัญหา และต้องตามเทรนด์เทคโนโลยีใหม่ ๆ ตลอดเวลา เพื่อสร้างประสบการณ์ใหม่ ๆ ให้กับผู้ใช้งาน 

ซึ่งการทำธุรกิจในปัจจุบัน Mobile Application ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญมากยิ่งขึ้น เพราะเราจะเห็นได้ว่าการสมาร์ทโฟนได้มีบทบาทต่อการใช้ชีวิตของผู้คนอย่างเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งการมี Mobile Application นอกจากจะช่วยเพิ่มโอกาสในการแข่งขันแล้ว ยังช่วยส่งเสริมภาพลักษณ์ด้านการตลาด การสื่อสารระหว่างองค์กรและลูกค้า เป็นต้น 

ด้วยเหตุผลนี้เอง ที่เจ้าของธุรกิจหรือองค์กรในปัจจุบันจึงควรหันมาให้ความสำคัญต่อการสร้างแอปพลิเคชันของตัวเอง และเรียนรู้ถึงบทบาทหน้าที่ของ Mobile App Developer เพื่อให้เข้ามาช่วยพัฒนาแอปพลิเคชันที่ตอบโจทย์องค์กร เพื่อเพิ่มความก้าวหน้าและการแข่งขันทางธุรกิจ

อ่านบทความเพิ่มเติม เกี่ยวกับการปรับองค์กรให้ทันสมัย ด้วย ระบบซอฟต์แวร์องค์กร ในบทความ:
ทำความรู้จัก ระบบซอฟต์แวร์องค์กร ตัวช่วยสำหรับองค์กรยุคใหม่


รูปแบบการทำ Mobile App Development

การพัฒนา Mobile App Development ในปัจจุบัน จะแบ่งออกเป็น 3 รูปแบบ ตามความเหมาะสม ซึ่งจะต่างกันทั้งการพัฒนา ประสิทธิภาพ และต้นทุน โดยแบ่งเป็นดังนี้

1.Native Application

คือโปรแกรมที่นักพัฒนาซอฟต์แวร์ผลิตขึ้นมาโดยมีเป้าหมายเพื่อใช้บนสมาร์ทโฟนหรือแพลตฟอร์มโดยเฉพาะ ซึ่งข้อดีคือจะเป็นแอปพลิเคชันที่มีประสิทธิภาพที่ดี มีความรวดเร็วกว่าแอปพลิเคชันประเภทอื่น นอกจากนี้ผู้พัฒนาสามารถปรับแต่งหน้าแอปพลิเคชันได้ตามความต้องการ แต่มีข้อเสียคือไม่รองรับสำหรับการใช้งานในอุปกรณ์ที่หลากหลายได้ เช่น หากเป็นแอปพลิเคชันที่พัฒนาสำหรับระบบ IOS ก็จะไม่สามารถรองรับในอุปกรณ์ที่เป็น Android ได้

2.Hybrid Application

คือแอปพลิเคชันที่พัฒนาขึ้นมาเพื่อให้สามารถใช้งานได้กับหลายแพลตฟอร์ม สามารถรองรับได้ทั้ง IOS และ Android ซึ่งการเขียนโค้ดนั้นจะใช้ HTML, CSS และ JavaScript ทำให้ง่ายและเหมาะสำหรับนักพัฒนาแอปพลิเคชันมือใหม่ และมีต้นทุนที่ถูกกว่า Native Application แต่ประสิทธิภาพของแอปพลิเคชันจะทำงานช้ากว่า พอสมควร

3.Web Application

เป็นแอปพลิเคชันที่พัฒนาขึ้นมาเพื่อรองรับการเข้าถึงผ่านเว็บเบราว์เซอร์ (Web Browser) เป็นหลัก ซึ่งจะมีข้อดีคือการพัฒนาแอปพลิเคชันที่ง่าย รวมทั้งยังสะดวกต่อผู้ใช้งาน เพราะสามารถเข้าถึงแอปพลิเคชันผ่าน World Wide Web (www) ที่สามารถใช้งานผ่านอินเทอร์เน็ต ได้ทั่วโลก ไม่ต้องติดตั้ง และรองรับการใช้งานในทุกอุปกรณ์ แต่ข้อเสียคือ Web Application จะมีขนาดของไฟล์ที่ใหญ่กว่าแอปพลิเคชันรูปแบบอื่น ทำให้มีการทำงานที่ค่อนข้างช้า และต้องใช้งานผ่านระบบอินเทอร์เน็ตเท่านั้น


ความสำคัญของ Mobile App Development ต่อองค์กร

บทบาทของ Mobile App Development นอกจากการสร้างแอปพลิเคชันแล้ว ยังมีบทบาทสำคัญอื่น ๆ ในระยะยาวต่อองค์กร ที่จะช่วยให้ธุรกิจเติบโตอย่างมีประสิทธิภาพ โดยความสำคัญของ Mobile App Development มีดังนี้

1.ช่วยให้องค์กรสร้างแอปพลิเคชันที่เหมาะสมกับธุรกิจ

การที่องค์กรจะพัฒนาหรือสร้างแอปพลิเคชันของตัวเองได้นั้น ก่อนอื่นต้องเข้าใจก่อนว่าบทบาทหน้าที่ของแอปพลิเคชันที่นำมาใช้งานนั้นตอบโจทย์ในด้านใดบ้าง เช่น การบริการลูกค้า การจัดกิจกรรมส่งเสริมการตลาด การเพิ่มความสะดวกในการทำงาน เป็นต้น โดยหน้าที่ของ Mobile App Development จะเป็นการศึกษาทำความเข้าใจถึงสิ่งที่องค์กรต้องการ และร่วมทำงานกับทีมขององค์กร เพื่อพัฒนาแอปพลิเคชันให้ตรงต่อเป้าหมายขององค์กรมากที่สุด

2.สนับสนุนในการนำนวัตกรรมใหม่ ๆ มาใช้ในองค์กร

หนึ่งในหน้าที่ของ Mobile App Development คือการติดตามนวัตกรรม และเทรนด์เทคโนโลยีต่าง ๆ ที่ทันสมัย เพื่อนำมาปรับใช้ในแอปพลิเคชัน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และความทันสมัยต่อการให้บริการขององค์กร ทำให้องค์กรสามารถปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีได้รวดเร็วมากยิ่งขึ้น

3.ช่วยดูแลแอปพลิเคชัน ตั้งแต่ออกแบบ พัฒนา และปรับปรุงแก้ไข

การใช้บริการ Mobile App Development ไม่ใช่แค่การสร้างแอปพลิเคชันที่ตรงต่อเป้าหมายขององค์กรเท่านั้น แต่ผู้พัฒนาแอปจะทำหน้าที่ครอบคลุมตั้งแต่การช่วยออกแบบ พัฒนาแอป ไปจนถึงการรับผลตอบรับการใช้งาน เพื่อนำมาปรับปรุง และต่อยอดแอปพลิเคชันให้มีประสิทธิภาพสูงสุด และมอบประสบการณ์ที่ดีต่อผู้ใช้งาน ทำให้องค์กรเบาใจว่าจะได้รับการดูแลตั้งแต่ต้นน้ำ ไปจนถึงปลายน้ำ


สรุป

ในยุคที่ธุรกิจแข่งขันกันด้วยเทคโนโลยี และความทันสมัย ปฏิเสธไม่ได้ว่า Mobile App Development เป็นหนึ่งในหน้าที่ที่มีบทบาทสำคัญต่อองค์กร เพราะนอกจากจะช่วยในการพัฒนาและสร้างสรรค์ Mobile Application แล้ว ยังช่วยในการปรับปรุง และออกแบบให้ได้แอปพลิเคชันที่ตรงต่อความต้องการขององค์กร ให้เกิดประสบการณ์การใช้งานที่ดี เพิ่มโอกาสเติบโต เพิ่มโอกาสแข่งขันทางธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพ

ส่วนองค์กรไหนที่ต้องการบริการ Mobile App Development เพื่อออกแบบแอปพลิเคชันให้ตรงใจ ขอแนะนำเว็บไซต์ AYODIA ที่มีบริการออกแบบแอปพลิเคชันโดยทีมที่เป็นมืออาชีพ มีความเสถียร ปลอดภัย ไม่ว่าจะเป็นระบบ Android หรือ IOS