เป็นที่เข้าใจกันดีว่าแอปพลิเคชันได้เข้ามามีบทบาทต่อการใช้ชีวิตและการทำธุรกิจในทุกวันนี้ ทั้ง Mobile Application หรือ Web Application ก็ตาม แต่การที่จะสร้างแอปฯ ที่มีคุณภาพจะเกิดขึ้นไม่ได้เลย หากองค์กรไม่รู้ถึงขั้นตอนการพัฒนาแอปพลิเคชัน ว่าการสร้างแอปฯ ที่ตรงใจผู้ใช้งานนั้นมีกระบวนการอย่างไรบ้าง
ในบทความนี้เราจะมาแนะนำถึง 5 ขั้นตอนพัฒนาแอปพลิเคชันองค์กร ให้ได้ประสิทธิภาพ และสามารถพัฒนาธุรกิจให้เติบโต
สิ่งที่ต้องรู้ก่อนพัฒนาแอปพลิเคชัน
การพัฒนาแอปพลิเคชัน คือกระบวนการหนึ่งเพื่อสร้างสรรค์โปรแกรมหรือชุดโปรแกรมซอฟต์แวร์ประยุกต์ ทั้งนี้ตัวแอปพลิเคชันนั้นจะต้องพัฒนาให้สามารถรองรับการทำงานบนระบบปฏิบัติการต่าง ๆ ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ไม่ว่าจะเป็น คอมพิวเตอร์ แท็บเล็ต สมาร์ทโฟน เป็นต้น
ทั้งนี้การจะสร้างแอปพลิเคชันให้สามารถทำงานได้มีคุณภาพ ควรต้องศึกษาขั้นตอนการพัฒนาแอปพลิเคชันอย่างเป็นระบบและรอบคอบ ตั้งแต่การ วิเคราะห์และวางแผนการออกแบบแอปพลิเคชัน เขียนโค้ด เผยแพร่ ไปจนถึงการติดตามและปรับปรุงผลการทำงาน เพราะถึงแม้องค์กรจะมีทีมพัฒนา Mobile Application และ Web Application แต่หากขาดการวางแผนขั้นตอนพัฒนาที่ดี ก็อาจทำให้แอปพลิเคชันออกมาไม่มีประสิทธิภาพอย่างที่ควร
ทำความเข้าใจบทบาทหน้าที่และความสำคัญของ Web Development
ได้ที่บทความ: Web Development ทำอะไร? เจาะลึกอาชีพที่ขาดไม่ได้ในยุคดิจิทัล
อ่านบทความเพิ่มเติมถึงบทบาท และความสำคัญของ Mobile App Development
ได้ที่บทความ: สร้างความเติบโตให้ธุรกิจในยุคดิจิทัล ด้วย Mobile App Development

5 ขั้นตอนการพัฒนาแอปพลิเคชันองค์กร
สำหรับการออกแบบและพัฒนาแอปพลิเคชัน จะสามารถแบ่งออกเป็นทั้งหมด 5 ขั้นตอนการพัฒนาแอปพลิเคชัน โดยมีวิธีการดังนี้
1. วิเคราะห์ และวางแผนกลยุทธ์
การจะเริ่มขั้นตอนการพัฒนาแอปพลิเคชัน สิ่งแรกที่ต้องทำคือวางแผนเพื่อกำหนดทิศทางและเป้าหมายของแอปพลิเคชัน เริ่มแรกคือทีมพัฒนาและองค์กรจะต้องเข้าใจถึงเป้าหมายทางธุรกิจ รวมถึงสิ่งที่องค์กรต้องการ เพื่อดำเนินการวิเคราะห์คู่แข่ง แล้วนำมากำหนดเป็นจุดเด่นของแอปพลิเคชันที่ต้องการพัฒนา
เมื่อวางกลยุทธ์เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนต่อมาคือการวิเคราะห์และวางแผนขั้นตอนการพัฒนาแอปพลิเคชันให้ชัดเจน ไม่ว่าจะเป็น โครงสร้างของแอปพลิเคชัน งบประมาณ บุคลากร เครื่องมือที่ใช้ และการกำหนดระยะเวลาในการพัฒนา นอกจากนี้ยังต้องวางแผนสำรองถึงกรณีที่อาจเกิดปัญหาหรืออุปสรรคระหว่างพัฒนา เพื่อให้แอปพลิเคชันสามารถบรรลุตามเป้าหมายที่วางไว้
การทำงานของการวิเคราะห์วางแผนกลยุทธ์แอปพลิเคชัน มีดังนี้
- วิเคราะห์คู่แข่ง เช่น ยอดการดาวน์โหลด อ่านรีวิวต่าง ๆ หาจุดเด่น จุดด้อย เป็นต้น
- การตลาด การวางแผนโปรโมตแอปพลิเคชัน ว่าจะช่วยส่งเสริมธุรกิจอย่างไรบ้าง
- รายได้ โดยมองว่าจะสร้างรายได้จากแอปพลิเคชันแบบไหนบ้าง เช่น สมัครสมาชิก หรือการลงโฆษณา เป็นต้น
2. ออกแบบและสร้างแอปพลิเคชัน
หลังจากที่วางแผนกลยุทธ์เรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนต่อมาคือการเริ่มออกแบบพัฒนาแอปพลิเคชัน ซึ่งจะแบ่งเป็น UX (User Experience) ที่เป็นส่วนที่สร้างประสบการณ์ที่ดีต่อผู้ใช้ มีการใช้งานง่าย และส่วนที่เป็น UI (User Interface) ที่เป็นส่วนในการตกแต่งเพิ่มความสวยงามน่าใช้งานของแอปพลิเคชัน รวมทั้งสร้าง Workflows ต่าง ๆ ของแอปพลิเคชันโดยละเอียด
สำหรับขั้นตอนการออกแแบบโครงสร้าง UX/UI ของแอปพลิเคชัน จะแบ่งออกเป็น ดังนั้น
การออกแบบ UX
- Wireframe เป็นการออกแบบวางแผนข้อมูลที่จะแสดงบนแต่ละหน้าของแอปพลิเคชัน
- Workflows เป็นการออกแบบโครงสร้างการทำงานของแอปพลิเคชัน ว่าหากผู้ใช้กดปุ่มใดปุ่มหนึ่งจะพาไปยังส่วนไหนของแอปพลิเคชัน
- Click-Through Model เป็นการจำลองการใช้ Workflows และ Wireframe หน้าต่าง ๆ เพื่อสร้างความเข้าใจต่อการทำงานของแอปพลิเคชัน
การออกแบบ UI
- Style Guide เป็นการออกแบบคร่าว ๆ ถึงลูกเล่นต่าง ๆ ที่อยู่บนแอปพลิเคชัน และวางแผนส่วนต่าง ๆ เช่น สี ฟอนต์ ขนาดของปุ่ม เป็นต้น
- Rendered Design เป็นการปรับจากหน้า Wireframe เพื่อให้ออกมาพร้อมใช้งานจริง ๆ โดยอาจอิงจากที่ออกแบบไว้ใน Style Guide
- Rendered Click-Through Model เป็นการจำลองการทดสอบหน้าตาการทำงานของแอปพลิเคชันแต่ละหน้าโดยละเอียด
3. เขียนโค้ดและพัฒนาแอปพลิเคชัน
การจะสร้างแอปพลิเคชันให้สามารถทำงานได้เต็มที่ จะต้องมีการเขียนโค้ด (Coding) ตามข้อกำหนด และดำเนินตามแผนงานกลยุทธ์ที่วางไว้ โดยผู้พัฒนาจะดำเนินการประสานงานกับทีมเขียนโค้ด ในการเลือกใช้ภาษาในการเขียนโปรแกรมและเทคโนโลยีที่เหมาะสม เพื่อให้แอปพลิคเคชันสามารถทำงานได้อย่างลื่นไหล มีความปลอดภัย และสามารถออกแบบฟีเจอร์ต่าง ๆ ได้ตามที่วางแผนไว้
หลังจากที่ออกแบบตัวแอปพลิเคชันจนเสร็จ ให้ทำการทดสอบการทำงานของแอปฯ โดยจะแบ่งเป็น 2 แบบคือ
- ทดสอบการทำงานของแอปพลิเคชัน ดูว่าตั้งแต่เข้าใช้งานแอปฯ ไปจนถึงการทำงานส่วนต่าง ๆ มีความรื่นไหลมากน้อยแค่ไหน
- ทดสอบความปลอดภัยของแอปพลิเคชัน เป็นการทดสอบเพื่อหาช่องโหว่ว่าแอปฯ มีจุดไหนที่เสี่ยงต่อการโดนแฮ็ค หรือโดยขโมยข้อมูลได้
4. เผยแพร่แอปพลิเคชัน
เมื่อทำการทดสอบจนมั่นใจในการทำงานของแอปพลิเคชันแล้ว ลำดับต่อมาก็คือการเผยแพร่แอปฯ สู่สาธารณะเพื่อใช้งานจริง โดยจะแบ่งออกตามประเภทแพลตฟอร์มหรืออุปกรณ์ที่ใช้งาน เช่น IOS หรือ Android ส่วนหากเป็น Web Application ก็สามารถเผยแพร่ผ่านลิงก์ให้บริการได้ทันที
ทั้งนี้การเผยแพร่แอปพลิเคชันให้เกิดประสิทธิภาพ ควรคำนึงถึงกลุ่มเป้าหมายที่ใช้งาน เพื่อหาช่องทางในการประชาสัมพันธ์ให้กลุ่มเป้าหมายสามารถดาวน์โหลดแอปฯ ไปใช้งานมากที่สุด เช่น อาจประชาสัมพันธ์ผ่านแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียต่าง ๆ หรือการเชิญชวนติดตั้งแอปฯ ณ สาขาที่ให้บริการ เป็นต้น
- ติดตามและปรับปรุง
หลังจากที่เผยแพร่แอปพลิเคชันเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนต่อมาคือการติดตามและวัดผลการทำงานของแอปฯ เพื่อนำไปพัฒนาและปรับปรุงต่อไปในอนาคต โดยมีการเปิดให้แจ้งร้องเรียนหรือแนะนำการให้บริการ ทั้งนี้ผู้พัฒนาต้องพร้อมรับผลตอบรับทั้งด้านบวกและลบ เพื่อวัดผลคุณภาพการทำงานอย่างชัดเจน หากพบว่ามีข้อร้องเรียนหรือการแนะนำติชมต่าง ๆ ผู้พัฒนาหรือผู้ประกอบการสามารถนำข้อคิดเห็นเหล่านั้นมาต่อยอด พัฒนาเป็นฟีเจอร์ใหม่ ๆ เพื่อให้แอปฯ สามารถสร้างประสบการณ์ที่ดีต่อผู้ใช้มากยิ่งขึ้น
สรุป
จะเห็นได้ว่า ขั้นตอนการพัฒนาแอปพลิเคชัน นั้น เป็นงานที่มีความละเอียดซับซ้อน ต้องอาศัยความร่วมมือของหลาย ๆ ฝ่าย ตั้งแต่ ผู้ประกอบการ นักพัฒนาแอปฯ คนเขียนโค้ด เพื่อให้แอปพลิเคชันองค์กรสามารถออกมาได้สมบูรณ์ ทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถขับเคลื่อนองค์กรไปสู่เป้าหมายที่วางไว้ได้สำเร็จ
สำหรับองค์กรไหนที่ต้องการทีมพัฒนาแอปพลิเคชัน ระดับมืออาชีพ พร้อมดูแลงานตั้งแต่ต้น จนถึงการติดตามผลและปรับปรุง ขอแนะนำ AYODIA เพราะเรามีทีมเชี่ยวชาญด้านแอปพลิเคชันโดยเฉพาะ ไม่ว่าจะเป็น Mobile Application หรือ Web Application